เนื้อหาความรู้


ข้อมูลตลาดส่งออก มะม่วงของประเทศไทย ปี 2544-2546
:: สถานะการณ์ปัจจุบัน
          มะม่วง ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 2,014,000 ไร่ ผลผลิตปีละ 1,566,000 ตัน โดยมีการส่งออกในรูปมะม่วงสด ปริมาณ 8,522 ตัน มูลค่า 149 ล้านบาท สำหรับมะม่วงแปรรูป ปริมาณ 5,998 ตัน มูลค่า 182 ล้านบาท กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วงขึ้นใน 14 จังหวัด ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมสู่เกษตรกร ที่เป็นสมาชิกกลุ่ม และจัดให้มีการร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบ การณ์ระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น มีการส่งเสริมเทคโนโลยี การผลิตมะม่วงนอกฤดูให้สมาชิกกลุ่ม เพื่อช่วยลดปัญหามะม่วงล้นตลาดและ ราคามะม่วงตกต่ำ นอกจากนี้ยังได้ให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิต (ปุ๋ยเคมี) ให้ กลุ่มฯ บริหารในลักษณะกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ขาดแคลนเงิน ทุนในการจัดซื้อปุ๋ยและเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ สมาชิกกลุ่ม ผลการดำเนินงานปี 2542 มีการรวมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วง 28 กลุ่ม มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 1,228 คน มีพื้นที่ดำเนินการ 13,521 ไร่
:: ตลาดส่งออก มะม่วง ของประเทศไทย
มูลค่า:ล้านบาท
รายการ
ปี 2544
ปี 2545
ปี 2545
มค.-เมย.
ปี 2546
มค.-เมย.
อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
สัดส่วน (ร้อยละ)
ปี 2544
ปี 2545
ปี 2546
มค.-เมย.
ปี 2544
ปี 2545
ปี 2546
มค.-เมย.
1. ญี่ปุ่น
40.36
37.81
30.70
63.59
230.95
-6.32
107.13
18.56
25.86
60.29
2. มาเลเซีย
148.69
52.08
39.79
27.65
29.08
-64.98
-30.52
68.36
35.62
26.22
3. สิงค์โปร์
14.27
19.04
10.34
4.24
-29.97
33.48
-59.00
6.56
13.02
4.02
4. ฮ่องกง
7.97
6.84
2.59
1.85
-9.98
-14.17
-28.73
3.67
4.68
1.75
5. อินโดนีเซีย
0.77
3.32
2.09
1.33
19.63
328.84
-36.05
0.36
2.27
1.27
6. จีน
0.09
0.02
0.00
1.30
-88.93
-82.98
-
0.04
0.01
1.23
7. สหราชอาณาจักร
0.60
1.32
0.37
1.07
-69.08
120.34
191.00
0.27
0.90
1.01
8. สหรัฐอเมริกา
0.77
9.36
0.75
0.91
19.09
*
21.05
0.35
6.40
0.86
9. เกาหลีใต้
0.00
0.49
0.00
0.74
-100.00
-
-
0.00
0.33
0.70
10. ออสเตรเลีย
0.78
7.33
4.61
0.52
*
837.33
-88.70
0.36
5.01
0.49
11. นิวซีแลนด์
0.07
2.07
0.34
0.51
-
*
47.83
0.03
1.41
0.48
12. เนเธอร์แลนด์
0.15
0.64
0.00
0.44
-83.44
338.25
*
0.07
0.44
0.42
13. เยอรมันนี
0.35
1.13
0.44
0.32
*
227.11
-26.49
0.16
0.77
0.31
14. สวิตเซอร์แลนด์
0.05
1.52
0.05
0.27
-43.43
*
424.31
0.02
1.04
0.26
15. นิวแคลีโดเนีย
0.38
0.00
0.00
0.25
-
-100.00
-
0.18
0.00
0.24
16. บาห์เรน
0.01
0.07
0.00
0.17
102.87
429.63
-
0.01
0..05
0.16
17. ฝรั่งเศส
0.11
0.38
0.32
0.13
-33.66
257.38
-58.52
0.05
0.26
0.13
18. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
0.23
0.17
0.14
0.10
7.92
-26.15
-29.23
0.11
0.12
0.10
19. จอร์แดน
0.00
0.00
0.00
0.02
-
-
-
0.00
0.00
0.02
20. เดนมาร์ก
0.05
0.01
0.01
0.02
703.49
-75.77
122.41
0.02
0.01
0.02
21. ได้หวัน
0.08
0.05
0.00
0.02
*
-41.47
-
0.04
0.03
0.02
22. สาธารณรัฐเซ็ก
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
23. บังกลาเทศ
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
24. แคนาดา
0.02
0.03
0.00
0.00
-74.61
58.81
*
0.01
0.02
0.00
25. นอร์เวย์
0.03
0.10
0.03
0.00
-7.08
270.33
-96.31
0.01
0.07
0.00
26. กวาเดอลูป
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
27. ฟินแลนด์
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
28. กรีซ
0.03
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.01
0.00
0.00
29. กวม
0.00
0.23
0.08
0.00
-
-
-100.00
0.00
0.16
0.00
30. ฟิจิ
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
31. ตุรกี
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
32. เฮติ
0.06
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
33. ไอซ์แลนด์
0.00
0.00
0.00
0.00
-99.47
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
34. บราซิล
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
35. บรูไน
0.02
0.01
0.00
0.00
44.54
-59.14
-
0.01
0.01
0.00
36. เบลเยี่ยม
0.01
0.00
0.00
0.00
-
-87.11
-
0.00
0.00
0.00
37. ออสเตรีย 
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
38. อเมริกัน ซามัวร์ 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
39. เวียดนาม 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
40. พม่า 
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
41. ซาอุดีอาระเบีย 
0.07
0.01
0.00
0.00
777.51
-87.55
-100.00
0.03
0.01
0.00
42. กาตาร์ 
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
43. โปรตุเกส 
0.00
1.07
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.73
0.00
44. ปากีสถาน 
0.47
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.21
0.00
0.00
45. ฟิลิปปินส์  
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
46. เนปาล 
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
47. ไนเจอร์ 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
48. สวีเดน 
0.00
0.00
0.00
0.00
-15.45
9.35
-
0.00
0.00
0.00
49. มัลดีฟส์ 
0.00
0.00
0.00
0.00
-87.60
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
50. อิสราเอล 
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
51. มาเก๊า 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.00
0.00
0.00
52. โมร๊อกโก 
0.39
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.18
0.00
0.00
53. ลิเบีย 
0.00
0.12
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.08
0.00
54. ลัตเวีย 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
55. ลาว 
 0.28
1.00
0.17
0.00
-73.43
 254.09
-100.00
0.13
0.68
0.00
56. คูเวต 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
57. เยเมน 
0.01
0.00
0.00
0.00
-
-100.00
-
0.01
0.00
0.00
58. อิตาลี 
0.01
0.00
0.00
0.00
-
-43.78
-
0.00
0.00
0.00
59. เซเชลส์ 
0.00
0.00
0.00
0.00
-
-
-
0.00
0.00
0.00
60. อินเดีย 
0.01
0.00
0.00
0.00
-41.51
-100.00
-
0.01
0.00
0.00
61. กัมพูชา 
0.00
0.00
0.00
0.00
-100.00
-
-
0.00
0.00
0.00
71. มอริเชียส 
0.30
0.00
0.00
0.00
-69.27
-100.00
-
0.14
0.00
0.00
มูลค่ารวม 
217.49
146.22
92.84
105.46
31.92
-32.77
13.60
100.00
100.00
100.00



                                               ความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยว                                                                     

 คลิกที่หัวข้อด้านล่างเพื่อดูรายละเอียด
          ความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงน้ำดอกไม้ เกิดขึ้นได้จากหลายขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ขั้นตอนการขนส่ง หรือในโรงคัดบรรจุ อาจจะแบ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ 3 กลุ่มตามสาเหตุได้แก่ ความเสียหายจากโรค ความเสียหายจากสาเหตุทางกายภาพ และความเสียหายอื่นๆ
  
ตัวอย่างผลมะม่วงเสียหายที่ถูกทิ้งไว้ใต้ต้น
:: การตรวจสอบการเกิดโรค
          จากการสุ่มตัวอย่างมะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์เบอร์ 4 และพันธุ์สีทองที่มีคุณภาพดีมาตรวจสอบการเกิดโรค อย่างละ 400 ผล เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง (24-32 องศาเซลเซียส) ความชื้นสัมพัทธ์ 48-91 % เป็นเวลา 8 วัน และหาค่า incidence พบว่ามะม่วงน้ำดอกไม้เริ่มแสดงอาการของโรคให้เห็นชัดเจนในวันที่ 4 ส่วนใหญ่ (มากกว่า 90%) เสียหายจาก โรคแอนแทรกโนส พันธุ์เบอร์สี่มีแนวโน้มการเกิดโรคมากกว่าพันธุ์ สีทองดังภาพ

 ชาวสวนมะม่วงทั่วทิศ รับมือวิกฤติอากาศอย่างไร
ชาวสวนมะม่วงทั่วทิศ รับมือวิกฤติอากาศอย่างไร 
โดย กรกัญญา อักษรเนียม และวรรณภา เสนาดี
            คุณมานพ แก้ววงษ์นุกูล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตมะม่วง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ให้ข้อมูลว่า ปีนี้อากาศค่อนข้างแปรปรวนกว่าปีก่อนๆ มาก ปกติช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม อากาศเริ่มหนาว ชาวสวนสามารถบังคับมะม่วงออกดอกได้แล้ว แต่ปีนี้ช่วงเวลาดังกล่าวอากาศยังไม่หนาวแถมมีฝนตก ชาวสวนที่ดึงดอกช่วงนี้กลับได้ใบ หรือได้ดอกแซมใบ ทำให้ผลผลิตชุดนี้มีน้อยกว่าที่คาดการณ์ ชาวสวนจึงต้องรักษาใบชุดนี้ให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการบังคับการออกดอกในรอบถัดไป เมื่ออากาศพร้อมหรืออุณหภูมิเย็นลงก็ดึงดอกได้ทันที
           
            จากที่เคยประมาณการณ์ว่าในช่วงฤดูกาลมะม่วงเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีผลผลิตมากกว่าช่วงอื่นๆ แต่เมื่อสภาพอากาศแปรปรวนอย่างนี้กลายเป็นว่าช่วงฤดูกาลกลับมีผลผลิตน้อยกว่าที่คาดไว้ แต่จะมีผลผลิตล่าออกไปประมาณเดือนพฤษภาคม สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตมะม่วง อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา มีผลผลิตประมาณ 5,000 ตัน เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงพฤษภาคม 
            ความแปรปรวนของสภาพอากาศส่งผลให้ชาวสวนต้องลงทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ผลผลิตไม่ได้ตามเป้าทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ อย่างไรก็ตามไม่อยากให้ชาวสวนวิตกกังวลมากเกินไป เนื่องจากช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยืดออกไปอาจส่งผลดีบ้าง นั่นคือ เมื่อชุดก่อนฤดูกาลหรือในฤดูกาลมีผลผลิตไม่มาก ชาวสวนสามารถบำรุงต้นใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ซึ่งอาจได้ราคาเพิ่มขึ้นได้ แต่จะทำอย่างไรให้ผลผลิตที่ออกมานั้นมีคุณภาพดีที่สุด สำหรับเพื่อนชาวสวนที่ผลิตมะม่วงชุดเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม ปีนี้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและขายได้ราคาดี  
            มอบมะม่วงแทนความห่วงใยกันไหม? คุณมานพ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า อยากให้คนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมการมอบของขวัญของฝากด้วยการเลือกผักและผลไม้เป็นของขวัญให้แก่กันให้มากขึ้น โดยเฉพาะมะม่วงคุณภาพ  เพื่อการส่งออกสามารถเป็นของขวัญของฝากที่ อร่อยถูกปากผู้รับอย่างมาก ใช้มะม่วงผลสวยๆ มอบแทนความรัก ความห่วงใย ในเทศกาลแห่งความสุข ทั้งโอกาสปีใหม่ วาเลนไทน์ หรือโอกาสพิเศษต่างๆ โดยทุกท่านสามารถติดต่อสมาชิกชาวสวนมะม่วงทั่วประเทศที่แต่ละกลุ่มได้คัดเลือกมะม่วงคุณภาพผลใหญ่ๆ จัดใส่กระเช้า หรือกล่อง ตกแต่งอย่างสวยงาม นับเป็นของขวัญล้ำค่าดีกว่า การซื้อของกินของใช้ที่บางครั้งกลับไม่ได้ใช้ บ้างเป็นของมึนเมามีโทษกับสุขภาพ  


            คุณสายันต์ บุญยิ่ง ประธานกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงวังทับไทร จ.พิจิตร ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างอย่าง จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะม่วงแหล่งใหญ่ของประเทศ ในแต่ละปีมีบรรยากาศการค้าขายคึกคักตั้งแต่ช่วงต้นฤดูกาล แต่ปีนี้ผลผลิตล่ากว่าเดิม และผลผลิตชุดก่อนฤดูมีสัดส่วนเสียหายกว่าปีก่อนๆ ทั้งนี้ปกติต้นเดือนพฤศจิกายนอากาศเริ่มหนาวสามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกได้ แต่ปีนี้กลางเดือนพฤศจิกายน อากาศยังไม่หนาวแถมกลับมีฝนตกมากกว่าฤดูฝนด้วยซ้ำ ทำให้มะม่วงที่กำลังออกดอกเสียหาย ดอกดำ ต้องให้น้ำ ใส่ปุ๋ย บำรุงต้น บำรุงใบดึงดอกชุดใหม่ เพื่อผลิตมะม่วงชุดถัดมา ทำให้ปีนี้มะม่วงชุดก่อนฤดูกาลมีน้อยหรือแถบจะไม่มีเกรดส่งออก เนื่องจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้มะม่วงผิวลาย 
            แค่ภูเขากั้นอากาศต่างกันมากมาย คุณสายันต์ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า นอกจากปีนี้อากาศแปรปรวนมากกว่าปีก่อนแล้ว พื้นที่ที่ห่างกันเพียงแค่ภูเขากั้นสภาพอากาศแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศแบบกว้างๆ ว่า ภาคเหนือตอนล่าง จ.พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ฝนตกหนัก แต่ในสภาพพื้นที่จริง อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ฝนตกหนัก ในขณะที่ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ กลับเจอภาวะภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง ชาวสวนเพชรบูรณ์ต้องให้น้ำมะม่วงอยู่ตลอดเวลา  
            นับวันการผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพสูงทำได้ยากขึ้น ลงทุนมากขึ้น ชาวสวนต้องใส่ใจข้อมูลรอบด้านให้มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อาศัยการฟังพยากรณ์อากาศจาก     กรมอุตุนิยมวิทยาเพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ชาวสวนควรบันทึกข้อมูลสภาพภูมิอากาศภายในสวนของตนเองให้ละเอียด นำข้อมูลย้อนหลัง 5-10 ปี มาช่วยประกอบการตัดสินใจ ควบคู่ไปกับการติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศ หรือหากชาวสวนกลุ่มใดมีศักยภาพพอที่จะติดตั้งสถานีวัดอากาศขนาดเล็กได้จะดีมาก เนื่องจากสามารถบันทึกข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศในพื้นที่เฉพาะได้ละเอียดมากขึ้น ดังนั้น ชาวสวนรายใดสามารถใช้ความรู้ในการจัดการสวนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้เหมาะสมที่สุด ย่อมช่วยลดความสูญเสียของผลผลิตลงได้ และช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น 

                  คุณไตรรัตน์ เปียถนอม ประธานกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพื่อการค้าและการส่งออก จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ปีนี้ ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์กระทบภัยแล้งเร็วขึ้น ทำให้การติดดอกติดผลของมะม่วงนอกฤดู (ก่อนตรุษจีน) ปีนี้คาดว่าจะลดลง 30-40% จากปีที่แล้ว อีกทั้งปีที่แล้วมะม่วงในฤดูให้ผลผลิตดกมากจึงทำให้การติดผลของมะม่วงนอกฤดูปีนี้ลดลงด้วย แต่มะม่วงที่จะออกในฤดู ปีนี้ผลผลิตโดยรวมกลุ่มชาวสวนผู้ผลิตมะม่วงในเขต จ.เพชรบูรณ์ แต่ละกลุ่มน่าจะได้ผลผลิตใกล้เคียงกับปีที่แล้ว สำหรับของ กลุ่มฯ ตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้น่าจะเก็บผลผลิตคุณภาพส่งออกได้ประมาณ 80 ตัน   
       แนวโน้มการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกในเขต จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่คงไม่เพิ่มขึ้นอีกแล้ว แต่การผลิตต่อไปจะต้องเน้นคุณภาพขึ้น ผลิตให้ได้ตามมาตรฐาน GAP เน้นความปลอดภัย คัดผลที่มีคุณภาพไว้และสุดท้ายคำนึงถึงรายได้โดยรวม คุณไตรรัตน์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ประเทศไทยสามารถผลิตมะม่วงได้ปีละประมาณ 2 แสนตัน แต่คัดผลผลิตที่มีคุณภาพจริงๆ ได้ประมาณ 5 หมื่นตันเท่านั้น ดังนั้นตลาดยังต้องการมะม่วงคุณภาพอีกมาก หากชาวสวนสามารถผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการได้ก็ยังจะเป็นโอกาสสดใสอยู่ และตลาดที่เป็นความหวังขณะนี้คือตลาดจีน ซึ่งต้องการมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในช่วงก่อนตรุษจีนปริมาณมาก หากสามารถส่งไปขายในจีนได้ก็จะเป็นโอกาสอย่างมากทั้งชาวสวนและผู้ส่งออกของไทย
มะม่วงปากช่องช่วงดอกบาน...เจอฝนเสียหายกว่า 80% 
                     เป็นที่ทราบกันว่า ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อแหล่งผลิตมะม่วงนอกฤดูแหล่งสำคัญของประเทศ คุณวีระเดช ไชยอนงค์ศักดิ์ ประธานกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงปลอดสารพิษเพื่อการ    ส่งออกเมืองปากช่อง เจ้าของสวนมะม่วงขนาดใหญ่ มีมะม่วงทั้งหมดประมาณ 20,000 ต้น ให้ข้อมูลว่า จากความเสียหายของการผลิตมะม่วงในช่วงปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.2554-2555) เป็นประสบการณ์ให้ตัวเองวางแผนการผลิตใหม่ โดยแบ่งการผลิตมะม่วงเป็นล็อกเล็กๆ มากขึ้น ให้มีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้มากที่สุดในช่วงฤดูกาลหรือเดือนมีนาคม-เมษายน คาดว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ปีนี้ไม่เจ็บตัวเหมือน ปีที่แล้ว แต่ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนมาก ฝนตกในช่วงดอกชุดใหญ่บานเพียงไม่กี่ชั่วโมง เมื่อฝนหยุดตกพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเหมือนกับปีก่อนๆ แต่กลับไม่ได้ผลดังเดิม นั่นคือ ดอกเปลี่ยนเป็นสีดำเกือบทั้งหมด ความเสียหายของการผลิตมะม่วงเที่ยวนี้ไม่น่าต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท เนื่องจากประมาณการณ์ว่าผลผลิตชุดนี้จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 150 ตัน แต่กลับเสียหาย ทั้งๆ ที่หลังจากฝนหยุดตกผมพ่นสารเคมีป้องกันเชื้อรามาโดยตลอด พ่นสารเคมี ทำงานกันทั้งคืน ใช้สารเคมีชนิดเดิม ใช้รักษาช่อดอก นับว่าปีนี้สภาพภูมิอากาศทำให้ผลผลิตมะม่วงเสียหายอย่างมาก
            ชาวสวนแถบนี้ประสบปัญหาการขาดแหล่งทุน เนื่องจากการผลิตมะม่วงในแต่ละปีลงทุนค่อน ข้างสูง  อยากให้ภาครัฐได้รับรู้บ้างว่า ในแต่ละปีชาวสวนผลิตมะม่วงส่งออกนำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก ที่ผ่านมาพวกเราชาวสวนช่วยเหลือตนเองมาตลอด แต่ปีนี้มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตมะม่วงมากเกินกำลังของชาวสวน โดยเฉพาะเรื่องความแปรปรวนของอากาศ อยากให้มีหน่วยงานวิจัยเข้ามาดูแล รวมทั้งการสนับสนุนแหล่งทุนให้ชาวสวนด้วย



ผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท 

เรียน  บรรณาธิการบริหาร / บรรณาธิการข่าว /หัวหน้าข่าว ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง ผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2555 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,247หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ ในกรณีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จากการสำรวจพบว่า   ประชาชน ร้อยละ 48.04 ระบุว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อาจมีผลทำให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างเลิกจ้างงานแรงงานไทย เพราะ นายจ้างหันไปใช้แรงงานต่างด้าวที่มีค่าแรงถูกกว่า และมีความอดทน ขยันทำงานมากกว่าแรงงานไทย และร้อยละ 45.07 ระบุว่า ไม่มีผล เพราะลูกจ้างรายวันได้รับค่าจ้างเกินหรือใกล้เคียงวันละ 300 บาทอยู่แล้ว และผู้ประกอบการหรือนายจ้างต้องมีการปรับตัว ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นราคาสินค้าจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.40 มีความกังวลว่าสินค้าจะมีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะค่าแรงเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้า หากค่าแรงเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตสินค้าย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ ร้อยละ 29.27 ไม่กังวล เพราะผู้ประกอบการหรือนายจ้างมีการปรับตัว เช่น ลดจำนวนแรงงาน ลดคุณภาพวัตถุดิบ ลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา เพื่อลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.45 มองว่าการขึ้นค่าแรง 300 บาท จะไม่ช่วยให้การออมเพิ่มมากขึ้น  เพราะค่าครองชีพยังแพง อีกทั้งราคาสินค้าอุปโภคบริโภคก็มีการปรับตัวสูงขึ้น และปกติก็ไม่มีเงินออมอยู่แล้ว มีเพียง ร้อยละ 25.66  ที่มองว่าจะช่วยให้การออมเพิ่มมากขึ้น เพราะมีรายได้/ค่าแรงเพิ่มมากขึ้น จึงมีเงินเหลือเก็บเป็นบางส่วน สำหรับด้านการเลิกกิจการของผู้ประกอบการ นั้น ประชาชน ร้อยละ 48.84 ระบุว่า ไม่มีผล เพราะทุกวันนี้ค่าแรงส่วนใหญ่ก็เกือบ 300 บาท หรือมากกว่าอยู่แล้ว และผู้ประกอบการหรือนายจ้างต้องมีการปรับตัวให้อยู่ได้ ประชาชน ร้อยละ 39.37 ระบุว่า มีผลทำให้เลิกกิจการ เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย หรือ SME ท้ายสุด ด้านการปรับตัวของลูกจ้าง/แรงงานจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท ประชาชน ร้อยละ 67.76 ระบุว่า ลูกจ้าง/แรงงาน ควรทำงานให้คุ้มค่าจ้างรองลงมา ร้อยละ 38.73 ควรขยันทำงานให้มากขึ้น ร้อยละ 23.02 หมั่นเรียนรู้ฝึกฝนทักษะใหม่ๆ    

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น