วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ราคามะม่วง ประจำวัน


ราคามะม่วง ประจำวัน




ประเภทสินค้า/ ชื่อสินค้าเบอร์เกรดหน่วยนับราคาขายส่ง 
    27 . 2   มะขามหวานอินทผลัมB-กิโลกรัม32 - 36  
    27 . 3   มะขามหวานอินทผลัมC-กิโลกรัม24 - 28  
  28. มะขาวหวานสีชมพู
    28 . 1   มะขาวหวานสีชมพูA-กิโลกรัม50 - 52  
    28 . 2   มะขาวหวานสีชมพูB-กิโลกรัม40 - 45  
    28 . 3   มะขาวหวานสีชมพูC-กิโลกรัม20 - 25  
  29. มะปรางไข่
    29 . 1   มะปรางไข่ใหญ่-กิโลกรัม  
    29 . 2   มะปรางไข่กลาง-กิโลกรัม  
    29 . 3   มะปรางไข่เล็ก-กิโลกรัม  
  30. มะปรางมะยงชิด
    30 . 1   มะปรางมะยงชิดใหญ่-กิโลกรัม 
    30 . 2   มะปรางมะยงชิดกลาง-กิโลกรัม 
    30 . 3   มะปรางมะยงชิดเล็ก-กิโลกรัม
  31. มะปรางหวาน
    31 . 1   มะปรางหวานใหญ่-กิโลกรัม  
    31 . 2   มะปรางหวานกลาง-กิโลกรัม  
    31 . 3   มะปรางหวานเล็ก-กิโลกรัม  
  32. มะไฟไข่เต่า
    32 . 1   มะไฟไข่เต่าใหญ่-กิโลกรัม  
    32 . 2   มะไฟไข่เต่าเล็ก-กิโลกรัม  
  33. มะไฟชมพู
    33 . 1   มะไฟชมพูใหญ่-กิโลกรัม  
    33 . 2   มะไฟชมพูเล็ก-กิโลกรัม  
  34. มะไฟเหรียญทอง
    34 . 1   มะไฟเหรียญทองใหญ่-กิโลกรัม
    34 . 2   มะไฟเหรียญทองเล็ก-กิโลกรัม  
  35. มะม่วงแก้วดิบ
    35 . 1   มะม่วงแก้วดิบใหญ่-กิโลกรัม
    35 . 2   มะม่วงแก้วดิบกลาง-กิโลกรัม
    35 . 3   มะม่วงแก้วดิบเล็ก-กิโลกรัม  
  36. มะม่วงเขียวมรกต
    36 . 1   มะม่วงเขียวมรกตใหญ่-กิโลกรัม  
    36 . 2   มะม่วงเขียวมรกตกลาง-กิโลกรัม  
    36 . 3   มะม่วงเขียวมรกตเล็ก-กิโลกรัม  
  37. มะม่วงเขียวเสวยดิบ
    37 . 1   มะม่วงเขียวเสวยดิบใหญ่-กิโลกรัม40 - 50  
    37 . 2   มะม่วงเขียวเสวยดิบกลาง-กิโลกรัม25 - 35  
    37 . 3   มะม่วงเขียวเสวยดิบเล็ก-กิโลกรัม15 - 20  
  38. มะม่วงโชคอนันต์ดิบ
    38 . 1   มะม่วงโชคอนันต์ดิบใหญ่-กิโลกรัม10 - 12  
    38 . 2   มะม่วงโชคอนันต์ดิบกลาง-กิโลกรัม7 - 8  
    38 . 3   มะม่วงโชคอนันต์ดิบเล็ก-กิโลกรัม5  
  39. มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบ
    39 . 1   มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบใหญ่-กิโลกรัม14 - 16  
    39 . 2   มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบกลาง-กิโลกรัม12 - 13  
    39 . 3   มะม่วงน้ำดอกไม้ดิบเล็ก-กิโลกรัม8 - 10  
  40. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
    40 . 1   มะม่วงน้ำดอกไม้สุกใหญ่-กิโลกรัม50  
    40 . 2   มะม่วงน้ำดอกไม้สุกกลาง-กิโลกรัม40 - 45  

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง


การแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่กิจกรรมการปฏิบัติ
เศรษฐกิจพอเพียง
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
ความพอดีด้านสังคมความพอดีด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมความพอดีด้านเทคโนโลยีความพอดีด้านเศรษฐกิจ
กระแสพระราชดำรัส          "ทฤษฎีใหม่นี้มีไว้สำหรับป้องกัน หรือถ้าในโอกาสปกติ ทำให้ร่ำรวยขึ้น ถ้าในโอกาสที่มีอุทกภัยก็สามารถ ที่จะฟื้น ตัวได้ โดยไม่ต้องให้ทางราชการไปช่วยมากเกินไป ทำให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อย่างดี"พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘       "ขอให้ทุกคนมีความปราถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความ สงบ เปรียบเทียบ กับประเทศอื่น ๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ฉะนั้น ถ้าท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีความคิด และมีอิทธิพลมีพลังที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวม ให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้  ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวรที่จะมีคุณค่าอยู่ ตลอดกาล"

           ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกิน   โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ         ความมีเหตุผล    หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ         การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกลเงื่อนไข             การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ต้องอาศัย ทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน           เงื่อนไขความรู้    ประกอบด้วย   ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง  ๆ   ที่ เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา    ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
           เงื่อนไขคุณธรรม  ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรม   มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติ ปัญญาในการ ดำเนินชีวิต
             เศรษฐกิจพอเพียง   คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย   เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์  หรือ  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้             "ความพอเพียง"  หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง  ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี   โดย อาศัยความรอบรู้    รอบคอบ    และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ     มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน      ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล          โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ  ความมีเหตุผล  หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล   โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ


               การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง"  คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย   สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง  เช่น  ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง     สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง               การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล    คือ  มีความสุขที่แท้  ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง   หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี   จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพ      แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย- ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือ ทุนทางสังคม- ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม      นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิต      สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน




การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะต้องมีความพอดี ๕ ประการคือ
ความพอดีด้านจิตใจ- ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้- มีจิตสำนึกที่ดี- เอื้ออาทร ประนีประนอม- นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก- ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน- รู้รักสามัคคี- สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน- รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ- เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด- รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม- พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน- ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก- เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร- พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน



             เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต"ทฤษฎีใหม่" ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี             หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน  มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว    การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน    เช่น   การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา   การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร   ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่พื้นเมือง   และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน   เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน   โดยใช้เศษอาหาร  รำ  และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา     ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่    และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น            การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น             การเลี้ยงปลาในนาข้าว  ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว             การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ย สำหรับผัก            การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทำเป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้า ใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว  ใช้เพาะเห็ด
                 การใช้แรงงานในครอบครัว  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยเสริมรายได้ เช่น การแปรรูป และถนอมอาหาร     เช่น   พริกแห้ง  มะนาวดอง  กล้วยตาก  ไข่เค็ม  กระเทียมดอง  ผักดอง น้ำพริกเครื่องแกง การจักสาน หัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ ใบยาง เครื่องใช้ และเครื่องจักสานจากผักตบชวา ไม้ไผ่ กล้วย

            เมื่อคนในสังคมหรือชุมชน สร้างครอบครัวพอเพียงได้แล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การเกิดขึ้น ของชุมชนพอเพียง    ที่สมาชิกชุมชนนั้น   จะรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมีการแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตน        บริหารจัดการปัจจัยต่าง   ๆ   เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น   ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล   และเมื่อ หลาย ๆ  ชุมชนพอเพียงมารวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้   สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด
            การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงนั้น เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการผลิต  โดยเฉพาะในภาค การเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า ด้วยการหมุนเวียนทุน ธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธี การทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน และการทำกิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม    เช่น  การทำปุ๋ยชีวภาพ  การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทำสวนสมุน ไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร   การทำถ่านชีวภาพ  การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา การแปรรูปผลผลิตและกรทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น   มีการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ ร่วมมือกัน ทั้งในด้านปัจจัยและอุปกรณ์การผลิต การตลาด เงินทุน การศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่             มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด  การมนัสการพระ ให้ มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนชุมชน   การรวมกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน การจัดตั้งร้านค้าชุมชน  การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ การรวมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว        บนพื้นฐานของการปลูกฝัง สมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน มากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือ วัตถุ มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ผู้อื่น     ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและ เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี   ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความพอ เพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ              แม้ว่าระดับความพอเพียงของแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกันแต่ ทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยการ ยึดมั่นในหลักการ ๓ ประการ เหมือนกัน คือ              การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง ด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็น ในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง              การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ     คือ  เมื่อปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัย     ด้วย ความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น และมี การปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน             การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการ ของตนเองลง    เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สวนมะม่วงงามเมืองย่าโม ปลูกสมุนไพรป้องโรค


สวนมะม่วงงามเมืองย่าโม ปลูกสมุนไพรป้องโรค



  • Share
สวนมะม่วงงามเมืองย่า คิดค้นการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน ดีปลีและพริกไทย คู่กับต้นมะม่วง สามารถป้องกันโรคและศัตรู และยังสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลดีปลีและพริกไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 4 แสนบาท

นครราชสีมา – วันนี้ (5 มิ.ย. 55) ภายหลังจากที่นายกิจติกร กีรติเรขา อดีตข้าราชการครู ใน ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์งามเมืองย่า ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ซึ่งปลูกไว้บนเนื้อที่ 44 ไร่ ซึ่งเป็นมะม่วงที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่ามะม่วงทั่วๆไป คือให้ผลดอกงาม ลูกใหญ่ มีน้ำหนักกว่า 1กิโลกรัม รสชาติหอมหวานอร่อย ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งตลาดส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบรัสเซีย ที่นิยมบริโภคมะม่วงสายพันธุ์นี้อย่างมาก รวมถึงตลาดระดับบนของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นห้างสรรพสินค้าชื่อดัง
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นมะม่วงอินทรีย์ ปลูกโดยระบบออร์แกนิกส์ ไร้สารเคมีในทุกขั้นตอน จึงทำให้มะม่วงงามเมืองย่ากลายเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศมากกว่า 28 ล้านบาทต่อปี แต่ปัจจุบันปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลผลิตมะม่วงงามเมืองย่ากำลังประสบกับปัญหาสารปนเปื้อน ประกอบกับใกล้ช่วงฤดูฝนก็จะทำให้ลำต้นเกิดเชื้อราจากอากาศที่ชื้นและยังก่อให้เกิดการเน่าในภายในลำต้นมะม่วงงามเมืองย่า ก็ยังส่งผลไปยังการออกผลผลิตที่ลดน้อยลงและรสชาติที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นทำให้นายกิจติกรฯ เจ้าของสวนจึงต้องเร่งพัฒนาปุ๋ยเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ต้นมะม่วงงามเมืองย่า
จนกระทั้งพบว่าการนำปุ๋ยหมักจากมูลสุกรมาฉีดพ้นบริเวณลำต้นและใบมะม่วงก็จะทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารอาหารที่เต็มที่และยังทำให้ต้นมะม่วงออกได้ตลอดทั้งปี และการผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเกา๖รศาสตร์กำแพงแสนและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้นำเอาสมุนไพรพื้นบ้าน อย่างเช่น ต้นดีปลีและต้นพริกไทย ที่มีสรรพคุณในการช่วยป้องกันแมลงและศัตรูพืช รวมทั้งการจัดการของโรค แอนแทรคโนส หรือ โรคเน่าใน ของต้นมะม่วง โดยการนำมาปลูกบริเวณใต้ต้นมะม่วงจะสามารถช่วยป้องกันการเน่าในของต้นมะม่วงได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันศัตรูพืชที่จะมีค่อยกัดกินผลมะม่วง อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้จากการเก็บผลของดีปลีและพริกไทยไปจำหน่ายตามท้องตลาดเพื่อเพิ่มรายได้เช่นกัน
นายกิจติกร กีรติเรขา อดีตข้าราชการครู เจ้าของสวนมะม่วงงามเมืองย่า กล่าวว่า สำหรับการปลูกมะม่วงงามเมืองย่านั้นเป็นการปลูกแบบอินทรีย์  ซึ่งในปัจจุบันได้มีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 1 ไร่หายจน นั้นกระจาอยู่ทั่วประเทศ และการที่มีการพัฒนามะม่วงงามเมือย่านั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งแกวงการผู้ปลูกมะม่วงไทย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการแปรรูปมะม่วงออกมานานาชนิดเพื่อรองรับความต้องการในการบริโภค ไม่ว่าจะเป็น น้ำมะม่วง  แยมมะม่วง และคอสเมติกส์  แต่สิ่งที่ทำการแปรรูปออกมาแล้วได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ แยมมะม่วง ที่ขณะนี้กำลังได้รับความสนใจจากอเมริกา ที่ได้ประสานเข้ามาเพื่อขอไปจำหน่ายภายในอเมริกา ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสที่จะมีการเปิดการตลาดของมะม่วงงามเมืองย่า ที่ได้มีการเพาะปลูกในระบบอินทรีย์ภายในประเทศไทย และสำหรับเรื่องของระบบการปลูกมะม่วงงามเมืองย่าในขณะนี้ก็ได้มีการคิดค้นได้การเพาะปลูกแบบใหม่ ซึ่งมะม่วงงามเมืองย่านั้นเป็นมะม่วงที่มีการปลูกแบบระยะชิด คือ 2 คูณ 2 เมตร ปลูกจำนวน 400 ต้น ต่อ 1 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันในการปลูกก็จะปลูกในแนว 90 องศาตะวันออกซึ่งในแนวทางนี้จะทำให้ต้นมะม่วงออกผลมากกว่าเดิมเกือบเทาตัวและความสูงของต้นเมื่อเก็บเกี่ยวก็จะสะดวกกว่าต้นที่ปลูกแบบตั้งปกติ ซึ่งแนวทางในความคิดนี้ตนได้ใช้ระยะเวลานานกว่า 15 ปี ในกาคิดค้น ซึ่งในขณะนี้ก็ได้มีขยายไปยังสมาชิกในกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับเรื่องการดูแลตนอยากให้เกษตรกรหันมาปรับเปลี่ยนในเรื่องของเคมี ให้มาเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ โดยการใช้น้ำมูลสุกรนำมาฉีกพ้นที่ลำต้นและใบของมะม่วง ซึ่งจะทำให้มะม่วงออกผลตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีในการลดหรือการเร่งออกผลแต่อย่างใด ซึ่งจากการผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ที่มีผลวิจัยออกมาว่า น้ำมูลสุกรนั้นมีปริมาณไนโตรเจนที่สูง ดังนั้นเมื่อนำมารดต้นมะม่วงงามเมืองย่าก็จะทำให้ต้นมะม่วงติดผลอยู่เรื่อยๆ และอีกวิธีหนึ่งที่ได้นำผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าดีปลี และ พริกไทย มีสารในการช่วยป้องกันและการจัดการของโรค แอนแทรคโนส หรือ โรคเน่าใน  ดังนั้นตนจึงนำดีปลีมาปลูกไว้ที่บริเวณใต้ต้นมะม่วงเพื่อให้สารจากดีปลีซึมเข้าไปยังในเปลือกของมะม่วงทำให้มะม่วง จะไม่เน่าเสีย  และเมื่อเก็บมะม่วงไปจำหน่ายแล้วยังสามารถเก็บผลของดีปลีและพริกไทย ไปจำหน่ายในกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งในแต่ละปีทำให้สวนมะม่วงงามเมืองย่าสามารถเก็บผลดีปลีและพริกไทยที่ปลูกใต้ต้นมะม่วงจาก 400 ต้น กว่า 4 พันกิโลกรัม รวมมูลค่ากว่า 4 แสนบาท นายกิจติกรฯ กล่าว

โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด


โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด

1. แมลง

1.1 เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง (Mango hopper : Idiocerus spp) จะเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่เริ่มออกดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ ยงจากดอกและช่อดอกทำให้ดอกร่วงหล่น ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนก็จะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น มะม่วงไม่ค่อยติดผล เพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงยังถ่ายมูลซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมาติดอยู่ตามใบเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำระบาดจับอยู่ตามใบและช่อมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงสังเคราะห์อาหารได้น้อยลง นอกจากเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงแล้ว ในระยะที่มะม่วงออกดอกนี้ อาจมีเพลี้ยไฟเข้าทำลายช่ อดอกด้วย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ดอก ทำให้ดอกร่วงเช่นกัน 
การกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง นอกจากวิธีที่กล่าวถึงแล้ว ยังอาจไล่ให้เพลี้ยจั๊กจั่นหนีไปได้ โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้ม ีควันมาก ๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่า ย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่ จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่นเมื่อคนเดินเข้าไปใกล้หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล

1.2 หนอนเจาะลำต้น เป็นหนอนของด้วงหนวดยาว โดยตัวแม่วางไข่ตามรอยแตกของเปลือกต้นมะม่วงแล้วตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้เข้าเข้าไปในต้นหรือกิ่ง ถ้าระบาดมาก ๆ ต้นหรือกิ่งจะตายได้ 
การป้องกัน ทำความสะอาดสวนอยู่เสมอไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง การฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ด้วงไม่มีโอกาสวางไข่ โดยฉีดตามรอยแตกของเปลือกไม้ เมื่อตัวหนอนกัดกินเข้าไปข้างในแล้ว ให้หาเหล็กแหลมเขี่ยเอาตัวหนอนออกมา แต่ถ้าตัวหนอนเข้าไปลึกแล้วให้ใช้ยาฉีดยุงแบบสเปรย์ฉีดเข้าไปในรูแล้วอุดรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมันจะทำให้ตัวหนอนตาย

1.3 ด้วงมะม่วง เป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ตัวแก่จะวางไข่ที่ผลอ่อนแล้วตัวหนอนจะเจริญอ ยู่ในเมล็ด พอเป็นตัวแก่ก็จะกัดกินเนื้อออกมา 
การป้องกัน เมื่อตัวหนอนเข้าไปอยู่ข้างในแล้ว กำจัดได้ยาก และผลมะม่วงมักจะเสียหายไปแล้ว การฉีดยาฆ่าแมลงประเภ ทดูดซึมจะช่วยได้บ้าง การดูแลหมั่นทำความสะอาดสวนอยู่เสมออย่าให้เป็นที่อยู่อาศัยของด้วงและแมลงต่าง ๆ จะช่วยป้องก ันการระบาดของด้วงมะม่วงได้

1.4 แมงมุมแดง เป็นแมงมุมที่มีตัวเล็กมาก ถ้าสังเกตไม่ดีจะไม่เห็น ตัวเป็นสีแดง เกาะอาศ ัยและขยายพันธุ์อยู่ใต้ใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงของใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงหล่น การกำจัดให้ใช้กำมะถันผง หรือกำมะถันชนิดละลายน้ำได้ ฉ ีดพ่นเมื่อพบว่ากำลังระบาดหรือใช้ฉีดด้วยยาฉุนกลั่นหรือเคนเท



1.5 แมลงวันผลไม้ เป็นแมลงวันปีกบางใส ทำลายมะม่วงโดยการวางไข่ที่ผลมะม่วงที่กำลัง จะสุก (เปลือกเริ่มเหลืองอ่อนตัวแล้ว) ตัวหนอนจะเจริญเติบโตอยู่ข้างใน สังเกตจากภายนอกจะเห็นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ผลมะม่วงที่ถ ูกทำลายจะร่วงหล่นเสียหาย 
การป้องกัน เนื่องจากแมลงจะวางไข่เมื่อเปลือกของผลอ่อนตัว คือผลเริ่มจะสุกแล้ว ดังนั้น การเก็บผลมะม่วงเมื่อแก่ เต็มที่แต่ยังไม่สุกแล้วเอามาบ่มจะปลอดภัยจากการทำลายของแมลงชนิดนี้ การฉีดยาฆ่าแมลงในสวนจะช่วยกำจัดแมลงชนิด นี้ได้ด้วย 
นอกจากแมลงดังกล่าวที่พบว่าทำความเสียหายในสวนเสมอแล้ว ยังมีศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น ปลวก นก และมดต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะทำความ ลำบากในการปฏิบัติงานสวนและการเก็บผลแล้ว มดยังเป็นตัวนำพวกเพลี้ยแป้งมาทำลายมะม่วงอีกด้วย การปราบมดอาจใช้ฉีดด้วยดีลดรินและควรตัดรังมดทิ้งไป

2. โรค

โรคต่าง ๆ ของมะม่วงไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงมากนัก ที่พบเสมอได้แก่โรคแอนแทรคโนส (anthracnose : Colletotrichum gleosporiodes, Penz) ซึ่งทำอันตรายกับทุกส่ว นของต้น อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดดำ และขยายตัวออกเป็นแผลแห้ง ๆ ทำให้ใบเป็นรูพรุนทั่วไป ถ้าเกิดที่ดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลนั้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ส่วนผลที่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นโรคนี้อาจร่วงไปเลย การป้องกันกำจ ัดทำได้โดยพ่นด้วยยากันราต่าง ๆ เช่น ไซเนบ (Zinep) แมนเซท-ดี (Manzate-D) ทุก ๆ 7-10 วัน 
นอกจากโรคแอนแทรคโนสแล้ว อาจมีโรค ราแป้ง หรือโรคราขี้เถ้า ทำลายใบและดอกให้ร่วงหล่น แต่ไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงนัก นอกจากสวน ั้ปล่อยปละเลยไม่ได้ดูแลทำความสะอาดสวนเลย การทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ และบำรุงต้นมะม่วงให้เจริญเติบโตแข็งแรง จะเป็นกา รป้องกันไม่ให้โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ระบาดได้เป็นอย่างดี

โรคและแมลงศัตรูของมะม่วงช่วงใกล้ออกดอก



ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
การป้องกันกำจัด
ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัด
1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้ง
ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
หวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ     ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ
ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่untitled-7เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
untitled-8โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย       
การป้องกันกำจัด    ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง  หรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัดuntitled-5
1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ  20  ลิตรเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลายช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอกและช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้งถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียวหวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
การป้องกันกำจัด ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น