วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สวนมะม่วงงามเมืองย่าโม ปลูกสมุนไพรป้องโรค


สวนมะม่วงงามเมืองย่าโม ปลูกสมุนไพรป้องโรค



  • Share
สวนมะม่วงงามเมืองย่า คิดค้นการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน ดีปลีและพริกไทย คู่กับต้นมะม่วง สามารถป้องกันโรคและศัตรู และยังสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลดีปลีและพริกไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 4 แสนบาท

นครราชสีมา – วันนี้ (5 มิ.ย. 55) ภายหลังจากที่นายกิจติกร กีรติเรขา อดีตข้าราชการครู ใน ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์งามเมืองย่า ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ซึ่งปลูกไว้บนเนื้อที่ 44 ไร่ ซึ่งเป็นมะม่วงที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่ามะม่วงทั่วๆไป คือให้ผลดอกงาม ลูกใหญ่ มีน้ำหนักกว่า 1กิโลกรัม รสชาติหอมหวานอร่อย ปัจจุบันกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งตลาดส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบรัสเซีย ที่นิยมบริโภคมะม่วงสายพันธุ์นี้อย่างมาก รวมถึงตลาดระดับบนของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นห้างสรรพสินค้าชื่อดัง
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นมะม่วงอินทรีย์ ปลูกโดยระบบออร์แกนิกส์ ไร้สารเคมีในทุกขั้นตอน จึงทำให้มะม่วงงามเมืองย่ากลายเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศมากกว่า 28 ล้านบาทต่อปี แต่ปัจจุบันปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลผลิตมะม่วงงามเมืองย่ากำลังประสบกับปัญหาสารปนเปื้อน ประกอบกับใกล้ช่วงฤดูฝนก็จะทำให้ลำต้นเกิดเชื้อราจากอากาศที่ชื้นและยังก่อให้เกิดการเน่าในภายในลำต้นมะม่วงงามเมืองย่า ก็ยังส่งผลไปยังการออกผลผลิตที่ลดน้อยลงและรสชาติที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นทำให้นายกิจติกรฯ เจ้าของสวนจึงต้องเร่งพัฒนาปุ๋ยเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ต้นมะม่วงงามเมืองย่า
จนกระทั้งพบว่าการนำปุ๋ยหมักจากมูลสุกรมาฉีดพ้นบริเวณลำต้นและใบมะม่วงก็จะทำให้ต้นมะม่วงได้รับสารอาหารที่เต็มที่และยังทำให้ต้นมะม่วงออกได้ตลอดทั้งปี และการผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเกา๖รศาสตร์กำแพงแสนและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้นำเอาสมุนไพรพื้นบ้าน อย่างเช่น ต้นดีปลีและต้นพริกไทย ที่มีสรรพคุณในการช่วยป้องกันแมลงและศัตรูพืช รวมทั้งการจัดการของโรค แอนแทรคโนส หรือ โรคเน่าใน ของต้นมะม่วง โดยการนำมาปลูกบริเวณใต้ต้นมะม่วงจะสามารถช่วยป้องกันการเน่าในของต้นมะม่วงได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันศัตรูพืชที่จะมีค่อยกัดกินผลมะม่วง อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้จากการเก็บผลของดีปลีและพริกไทยไปจำหน่ายตามท้องตลาดเพื่อเพิ่มรายได้เช่นกัน
นายกิจติกร กีรติเรขา อดีตข้าราชการครู เจ้าของสวนมะม่วงงามเมืองย่า กล่าวว่า สำหรับการปลูกมะม่วงงามเมืองย่านั้นเป็นการปลูกแบบอินทรีย์  ซึ่งในปัจจุบันได้มีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 1 ไร่หายจน นั้นกระจาอยู่ทั่วประเทศ และการที่มีการพัฒนามะม่วงงามเมือย่านั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างยิ่งแกวงการผู้ปลูกมะม่วงไทย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการแปรรูปมะม่วงออกมานานาชนิดเพื่อรองรับความต้องการในการบริโภค ไม่ว่าจะเป็น น้ำมะม่วง  แยมมะม่วง และคอสเมติกส์  แต่สิ่งที่ทำการแปรรูปออกมาแล้วได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ แยมมะม่วง ที่ขณะนี้กำลังได้รับความสนใจจากอเมริกา ที่ได้ประสานเข้ามาเพื่อขอไปจำหน่ายภายในอเมริกา ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสที่จะมีการเปิดการตลาดของมะม่วงงามเมืองย่า ที่ได้มีการเพาะปลูกในระบบอินทรีย์ภายในประเทศไทย และสำหรับเรื่องของระบบการปลูกมะม่วงงามเมืองย่าในขณะนี้ก็ได้มีการคิดค้นได้การเพาะปลูกแบบใหม่ ซึ่งมะม่วงงามเมืองย่านั้นเป็นมะม่วงที่มีการปลูกแบบระยะชิด คือ 2 คูณ 2 เมตร ปลูกจำนวน 400 ต้น ต่อ 1 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันในการปลูกก็จะปลูกในแนว 90 องศาตะวันออกซึ่งในแนวทางนี้จะทำให้ต้นมะม่วงออกผลมากกว่าเดิมเกือบเทาตัวและความสูงของต้นเมื่อเก็บเกี่ยวก็จะสะดวกกว่าต้นที่ปลูกแบบตั้งปกติ ซึ่งแนวทางในความคิดนี้ตนได้ใช้ระยะเวลานานกว่า 15 ปี ในกาคิดค้น ซึ่งในขณะนี้ก็ได้มีขยายไปยังสมาชิกในกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับเรื่องการดูแลตนอยากให้เกษตรกรหันมาปรับเปลี่ยนในเรื่องของเคมี ให้มาเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ โดยการใช้น้ำมูลสุกรนำมาฉีกพ้นที่ลำต้นและใบของมะม่วง ซึ่งจะทำให้มะม่วงออกผลตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีในการลดหรือการเร่งออกผลแต่อย่างใด ซึ่งจากการผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ที่มีผลวิจัยออกมาว่า น้ำมูลสุกรนั้นมีปริมาณไนโตรเจนที่สูง ดังนั้นเมื่อนำมารดต้นมะม่วงงามเมืองย่าก็จะทำให้ต้นมะม่วงติดผลอยู่เรื่อยๆ และอีกวิธีหนึ่งที่ได้นำผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าดีปลี และ พริกไทย มีสารในการช่วยป้องกันและการจัดการของโรค แอนแทรคโนส หรือ โรคเน่าใน  ดังนั้นตนจึงนำดีปลีมาปลูกไว้ที่บริเวณใต้ต้นมะม่วงเพื่อให้สารจากดีปลีซึมเข้าไปยังในเปลือกของมะม่วงทำให้มะม่วง จะไม่เน่าเสีย  และเมื่อเก็บมะม่วงไปจำหน่ายแล้วยังสามารถเก็บผลของดีปลีและพริกไทย ไปจำหน่ายในกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งในแต่ละปีทำให้สวนมะม่วงงามเมืองย่าสามารถเก็บผลดีปลีและพริกไทยที่ปลูกใต้ต้นมะม่วงจาก 400 ต้น กว่า 4 พันกิโลกรัม รวมมูลค่ากว่า 4 แสนบาท นายกิจติกรฯ กล่าว

โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด


โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด

1. แมลง

1.1 เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง (Mango hopper : Idiocerus spp) จะเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่เริ่มออกดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ ยงจากดอกและช่อดอกทำให้ดอกร่วงหล่น ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนก็จะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น มะม่วงไม่ค่อยติดผล เพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงยังถ่ายมูลซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมาติดอยู่ตามใบเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำระบาดจับอยู่ตามใบและช่อมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงสังเคราะห์อาหารได้น้อยลง นอกจากเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงแล้ว ในระยะที่มะม่วงออกดอกนี้ อาจมีเพลี้ยไฟเข้าทำลายช่ อดอกด้วย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ดอก ทำให้ดอกร่วงเช่นกัน 
การกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง นอกจากวิธีที่กล่าวถึงแล้ว ยังอาจไล่ให้เพลี้ยจั๊กจั่นหนีไปได้ โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้ม ีควันมาก ๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่า ย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่ จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่นเมื่อคนเดินเข้าไปใกล้หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล

1.2 หนอนเจาะลำต้น เป็นหนอนของด้วงหนวดยาว โดยตัวแม่วางไข่ตามรอยแตกของเปลือกต้นมะม่วงแล้วตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้เข้าเข้าไปในต้นหรือกิ่ง ถ้าระบาดมาก ๆ ต้นหรือกิ่งจะตายได้ 
การป้องกัน ทำความสะอาดสวนอยู่เสมอไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง การฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ด้วงไม่มีโอกาสวางไข่ โดยฉีดตามรอยแตกของเปลือกไม้ เมื่อตัวหนอนกัดกินเข้าไปข้างในแล้ว ให้หาเหล็กแหลมเขี่ยเอาตัวหนอนออกมา แต่ถ้าตัวหนอนเข้าไปลึกแล้วให้ใช้ยาฉีดยุงแบบสเปรย์ฉีดเข้าไปในรูแล้วอุดรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมันจะทำให้ตัวหนอนตาย

1.3 ด้วงมะม่วง เป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ตัวแก่จะวางไข่ที่ผลอ่อนแล้วตัวหนอนจะเจริญอ ยู่ในเมล็ด พอเป็นตัวแก่ก็จะกัดกินเนื้อออกมา 
การป้องกัน เมื่อตัวหนอนเข้าไปอยู่ข้างในแล้ว กำจัดได้ยาก และผลมะม่วงมักจะเสียหายไปแล้ว การฉีดยาฆ่าแมลงประเภ ทดูดซึมจะช่วยได้บ้าง การดูแลหมั่นทำความสะอาดสวนอยู่เสมออย่าให้เป็นที่อยู่อาศัยของด้วงและแมลงต่าง ๆ จะช่วยป้องก ันการระบาดของด้วงมะม่วงได้

1.4 แมงมุมแดง เป็นแมงมุมที่มีตัวเล็กมาก ถ้าสังเกตไม่ดีจะไม่เห็น ตัวเป็นสีแดง เกาะอาศ ัยและขยายพันธุ์อยู่ใต้ใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงของใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงหล่น การกำจัดให้ใช้กำมะถันผง หรือกำมะถันชนิดละลายน้ำได้ ฉ ีดพ่นเมื่อพบว่ากำลังระบาดหรือใช้ฉีดด้วยยาฉุนกลั่นหรือเคนเท



1.5 แมลงวันผลไม้ เป็นแมลงวันปีกบางใส ทำลายมะม่วงโดยการวางไข่ที่ผลมะม่วงที่กำลัง จะสุก (เปลือกเริ่มเหลืองอ่อนตัวแล้ว) ตัวหนอนจะเจริญเติบโตอยู่ข้างใน สังเกตจากภายนอกจะเห็นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ผลมะม่วงที่ถ ูกทำลายจะร่วงหล่นเสียหาย 
การป้องกัน เนื่องจากแมลงจะวางไข่เมื่อเปลือกของผลอ่อนตัว คือผลเริ่มจะสุกแล้ว ดังนั้น การเก็บผลมะม่วงเมื่อแก่ เต็มที่แต่ยังไม่สุกแล้วเอามาบ่มจะปลอดภัยจากการทำลายของแมลงชนิดนี้ การฉีดยาฆ่าแมลงในสวนจะช่วยกำจัดแมลงชนิด นี้ได้ด้วย 
นอกจากแมลงดังกล่าวที่พบว่าทำความเสียหายในสวนเสมอแล้ว ยังมีศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น ปลวก นก และมดต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะทำความ ลำบากในการปฏิบัติงานสวนและการเก็บผลแล้ว มดยังเป็นตัวนำพวกเพลี้ยแป้งมาทำลายมะม่วงอีกด้วย การปราบมดอาจใช้ฉีดด้วยดีลดรินและควรตัดรังมดทิ้งไป

2. โรค

โรคต่าง ๆ ของมะม่วงไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงมากนัก ที่พบเสมอได้แก่โรคแอนแทรคโนส (anthracnose : Colletotrichum gleosporiodes, Penz) ซึ่งทำอันตรายกับทุกส่ว นของต้น อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดดำ และขยายตัวออกเป็นแผลแห้ง ๆ ทำให้ใบเป็นรูพรุนทั่วไป ถ้าเกิดที่ดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลนั้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ส่วนผลที่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นโรคนี้อาจร่วงไปเลย การป้องกันกำจ ัดทำได้โดยพ่นด้วยยากันราต่าง ๆ เช่น ไซเนบ (Zinep) แมนเซท-ดี (Manzate-D) ทุก ๆ 7-10 วัน 
นอกจากโรคแอนแทรคโนสแล้ว อาจมีโรค ราแป้ง หรือโรคราขี้เถ้า ทำลายใบและดอกให้ร่วงหล่น แต่ไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงนัก นอกจากสวน ั้ปล่อยปละเลยไม่ได้ดูแลทำความสะอาดสวนเลย การทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ และบำรุงต้นมะม่วงให้เจริญเติบโตแข็งแรง จะเป็นกา รป้องกันไม่ให้โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ระบาดได้เป็นอย่างดี

โรคและแมลงศัตรูของมะม่วงช่วงใกล้ออกดอก



ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย
การป้องกันกำจัด
ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงหรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัด
1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลาย
ช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอก
และช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้ง
ถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียว
หวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
การป้องกันกำจัด
ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์พิชัย  สมบูรณ์วงศ์   นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ     ฝ่ายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทร. 053-873938-9  ในวันและเวลาราชการ
ปลายเดือน ตุลาคม เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลน้ำหลาก หรือน้ำนองเต็มตลิ่ง  จะเห็นได้ว่าหลายจังหวัดมีเทศกาลแข่งเรือ และจะเข้าสู่untitled-7เทศกาลลอยกระทง ในเดือนพฤศจิกายน คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง หลายจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ลุ่ม ก็ต้องผจญกับปัญหาท่วมกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอยุธยา นนทบุรี ประทุมธานี และ กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่ทางภาคเหนือของเราฝนก็เริ่มจะเบาบางลง ตอนเช้าเริ่มจะมองเห็นหมอกบ้างแล้วในบางพื้นที่ อุณหภูมิเริ่มลดลงในเวลากลางคืน  และเวลากลางวันเริ่มสั้นลง กลางคืนยาวนานขึ้น คือมืดเร็วและสว่างช้า การเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนก็เริ่มจะเข้าสู่ฤดูหนาว ไม้ผลหลายชนิดเริ่มจะสะสมอาหารเพื่อเตรียมที่จะออกดอกติดผล เนื่องจากอุณหภูมิหนาวเย็นกระตุ้นให้ไม้ผลออกดอก โดยจะเรียงลำดับไปตั้งแต่ มะปราง มะม่วง ลิ้นจี่ และลำไย เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติดูแลรักษาไม้ผลของท่านให้สมบูรณ์แข็งแรง แล้วท่านจะประสบความสำเร็จ ในการผลิตไม้ผลให้ได้ปริมาณ และคุณภาพ เพราะปีนี้ราคาจะแพง ในสัปดาห์นี้จะพูดถึงโรค และแมลงศัตรูของมะม่วง ช่วงใกล้ออกดอก
untitled-8โรคแอนแทรกโนส ช่วงมะม่วงแทงช่อดอกจะพบอาการจุดสีน้ำตาลดำบนก้านช่อดอก จะส่งผลให้ดอกเหี่ยวและหลุดร่วงไป ทำให้มะม่วงติดผลน้อยถ้าเป็นไม่มาก  แต่ถ้าเกิดรุนแรงผลจะหลุดร่วงไปหมดเหลือแต่ก้านดอก ทำให้ผลผลิตเสียหายหมดเลย       
การป้องกันกำจัด    ขณะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนแทงช่อดอกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมสำหรับภาคเหนือตอนบน ควรพ่นสารเคมีป้องกันโรคและแมลง ศัตรูมะม่วง โดยใช้เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิมผสมกับยาฆ่าแมลง ไซเปอร์เมททิล
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง  หรือแมลงกะอ้าทำลายช่อมะม่วงทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย  ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก  ทำให้ช่อดอกและดอกแห้งร่วงหล่น  หรือทำให้ผลอ่อนร่วงก่อนจะโตเต็มที่  นอกจากนั้นมันยังขับถ่ายของเสียออกจากตัว  มีลักษณะเหนียวและหว่านตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นอาหารของราดำและมดต่างๆ  ปกคลุมตามใบอ่อนและช่อดอก  ใครอย่าได้เอารถไปจอดใต้ต้นมะม่วงช่วงเด็ดขาดนี้  นอกจากจะล้างออกยากแล้ว  ยังทำให้สีรถท่านเกิดรอยด่าง ๆ ได้
เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงที่พบการระบาดและทำความเสียหายแก่มะม่วงมีอยู่ด้วยกัน  8  ชนิด  ลักษณะคล้ายคลึงกัน  แต่จะแตกต่างกันที่ขนาดของลำตัว  โดยทั่วไปลำตัวจะมีขนาด  3-4  มิลลิเมตร  ส่วนหัวปานและส่วนตัวเรียวเล็กน้อย  ปีกจะมีสีเทาปนน้ำตาล  ตัวเมียที่โตเต็มวัยจะวางไข่เรียงกันตามแกนกลางของใบ  แกนกลางของช่อดอก  ซึ่งยังอ่อนๆ อยู่  ไข่มีสีเหลืองอ่อน  รูปร่างบางรี  ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน  7-10  วัน      ตัวอ่อนมีการลอกคราบ  4  ครั้ง  ใช้เวลาประมาณ  17-19  วัน  จึงจะเจริญเป็นตัวเต็มวัย  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีขาคู่หลังแข็งแรง  สามารถกระโดดได้คล่องแคล่วและรวดเร็ว
เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงที่ระบาดในภาคเหนือได้แก่  เพลี้ยจักจั่นมะม่วงนักเปอร์  และเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงปากดำ  มักจะชอบเข้าทำลายและดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและช่อดอกมะม่วงเกือบทุกชนิด  แต่จะพบมากและระบาดในมะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนพันธุ์อื่นๆ รองลงมาและจะไม่ค่อยทำลายในมุม่วงป่าซึ่งมีกลิ่นชุน  ถ้าไม่มีการป้องกันกำจัดได้ทันเวลาจะทำให้มะม่วงไม่ติดลูก  เหลือแต่ช่อเปล่า  โดยทั่วไปเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วงมีศัตรูธรรมชาติเหมือนกัน  คือ  มวนเพชฌฆาต  จะเจาะและดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยจักจั่น  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงตามสวนต่างๆ อย่างมากมายและต่อเนื่อง  เป็นสาเหตุที่ทำให้ศัตรูธรรมชาติตายและหายไป  ทำให้เพลี้ยจั๊กจั่นช่อมะม่วงระบาดและทำลายดอกมะม่วง  เป็นศัตรูตัวร้ายกาจของมะม่วงในทุก ๆ ปี
การป้องกันกำจัดuntitled-5
1.  ระยะมะม่วงใกล้จะออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม  ให้พ่นด้วยสมุนไพรน้ำส้มควันไม้  อัตราน้ำส้มควันไม้  1  ส่วนต่อน้ำ  100-150  ส่วน หรือ(150 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร)  หรือจะใช้ยาฆ่าแมลงคาร์บาลิน  (เซฟวิน 85)  อัตรา  60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร
2.  ระยะมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกให้พ่นด้วยน้ำส้มควันไม้ อัตรา  1: 150-200  ส่วน  สมุนไพรหรือย่าฆ่าแมลงเซฟวิน 85  อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ  20  ลิตรเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งเป็นกลุ่มแมลงปากดูดขนาดเล็กเข้าทำลายช่อดอกและช่อใบอ่อนมะม่วง  โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามก้านดอกและช่อดอก ทำให้ช่อดอกชงักการเจริญเติบโต  แคระแกรน  แห้งถ้าพบระบาดมากทำให้มะม่วงไม่ติดผล แ ละตัวมันจะขับถ่ายของเหลวออกมาลักษณะเหนียวหวาน  เป็นที่ชื่นชอบของมดชนิดต่างๆ  และจะเกิดราดำตามมา
การป้องกันกำจัด ใช้น้ำส้มควันไม้  อัตรา  1  ส่วนต่อน้ำ  150  ส่วน  ฉีดพ่นเมื่อมะม่วงเริ่มแทงช่อดอกหรือใช้คาร์บาริล   (เซฟวิน 85)  อัตรา 60  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือตัดกิ่งที่ถูกทำลายออกไปเผาไฟ หรือใช้ปิโตเลี่ยมออยหรือไวท์ออยฉีดพ่น

ปัญหาอาชีพชาวสวนมะม่วง


ปัญหาอาชีพชาวสวนมะม่วง

คอลัมน์ เส้นทางอาชีพ : ปัญหาอาชีพชาวสวนมะม่วง : โดย...สุรัตน์ อัตตะ

          ปลายสัปดาห์ที่แล้วผมได้มีโอกาสไปถ่ายทำรายการ "เกษตรทำกินกับคม ชัด ลึก" ซึ่งจะนำมาเสนอทางช่องระวังภัย 24 ชั่วโมงในวันอาทิตย์นี้ โดยไปเจาะลึกถึงขั้นตอนการปลูกมะม่วงให้ได้มาตรฐานการส่งออก ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่ชาวสวนมะม่วงต้องประสบพบเจอ ทั้งเรื่องโรคและแมลงศัตรูของมะม่วง รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด  

          โดยไปเจาะลึกถึงสวนของ สุวิทย์ คุณาวุฒิ  เกษตรกรชาวสวนมะม่วงหัวก้าวหน้า เจ้าของสวนเพชรสำโรง ผู้ผลิตและจำหน่ายมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกรายใหญ่ใน จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งปลูกมะม่วงมากกว่า 10 สายพันธุ์ บนเนื้อที่กว่า 180 ไร่ อันได้แก่ แขกขายตึก, อกร่องพิกุลทอง, หนังกลางวัน, ตลับนาค, มหาชนก, ทะวายเดือนเก้า, เพชรบ้านลาด, ศาลายา, เจ้าคุณทิพย์, อาร์ทูอีทู, ทองดำ, มันขุนศรี, น้ำดอกไม้เบอร์ 4, น้ำดอกไม้สีทอง, เขียวเสวย, ฟ้าลั่น, แก้ว, อกร่อง, แรด, หนองแซง, และพิมเสนมัน  
          แต่สายพันธุ์ที่ทำรายได้ให้แก่เจ้าของสวนมากที่สุดก็คือ น้ำดอกไม้สีทองและน้ำดอกไม้เบอร์ 4 เพราะผลผลิตกว่า 80% ส่งออกต่างประเทศโดยมีตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น จีน เกาหลีและประเทศในยุโรป รองลงมาเป็นเขียวเสวย ตลาดหลักอยู่ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งสุวิทย์บอกว่ามะม่วงจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่อายุ 3 ปีขึ้นไป หากมีการบริหารจัดการสวนที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 30 ปี โดยเห็นจากสวนข้างบ้านที่มีอายุมากกว่า 20 ปีแล้ว แต่ละต้นก็ยังให้ผลผลิตสูงเหมือนเดิม 
          จากการที่ได้พูดคุยกับสุวิทย์บอกว่า การทำสวนมะม่วงให้ดี ให้ผลผลิตมีคุณภาพนั้นไม่ง่าย เมื่อเทียบกับสวนผลไม้ชนิดอื่นๆ เพราะต้องดูแลตลอดทั้งปี เริ่มจากการพักต้นหลังให้ผลผลิต ระหว่างนี้ก็มีตัดแต่งกิ่ง บำรุงต้นให้สมบูรณ์เพื่อเตรียมเร่งดอกในฤดูการผลผลิตถัดไป ยิ่งถ้าทำให้ผลผลิตออกนอกฤดูด้วยก็จะยิ่งต้องดูแลกันเป็นพิเศษ ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่เริ่มออกดอก จนถึงให้ผลผลิตของมะม่วงนั้นจะอยู่ที่ 4 เดือน หรือประมาณ 120 วัน
          สำหรับน้ำดอกไม้ของสวนเพชรสำโรงจะให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง ในฤดูจะอยู่ช่วงมีนาคม-เมษายน ถ้าเป็นนอกฤดูก็จะอยู่ช่วงพฤศจิกายน-มกราคม ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1 ตัน ขนาดผลส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ 300-500 กรัม ถ้าโตมากกว่านี้ก็ขายในประเทศเป็นหลัก เพราะตลาดภายในยิ่งใหญ่ยิ่งดี สุวิทย์บอกว่าช่วงนี้อยู่ระหว่างการให้ดอกของมะม่วงนอกฤดู ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด หากพลาดขึ้นมานั่นหมายความว่ามะม่วงจะไม่ติดผลเลย

มะม่วง

มะม่วง
ชื่ออื่นๆ :มะม่วงบ้าน  มะม่วงสวน  หมักโม่ง  หมากม่วง  ลูกม่วง
ชื่อสามัญ :Mango, Mango tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Manaifera indica Linn.
วงศ์ :Anacardiaceae
ถิ่นกำเนิด :เอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป :ไม้พุ่มยืนต้น สูงประมาณ 10 - 15 ม. ลำต้นตรง เรือนยอดกลม ทึบ ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบรูปหอกยาวแกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนมนแหลม ออกดอกเดือนธันวาคม ถึง มกราคม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ในช่อดอกหนึ่งๆ จะมีช่อย่อยหลายช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้น ผลสุกเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน และมีพันธุ์ทวายซึ่งออกนอกฤดูกาล ผลเป็นแบบผลสด รูปทรง ขนาด และสีผิวแล้วแต่ชนิดพันธุ์นั้นๆ บริโภคได้ทั้งผลดิบและผลสุก รสเปรี้ยว มัน และหวาน มะม่วงในประเทศไทยโดยเฉพาะที่ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีอยู่หลากหลายพันธุ์
พันธุ์ :
มะม่วงในประเทศไทยมีมากหลายพันธุ์ สามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาบริโภคได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.มะม่วงสำหรับรับประทานผลดิบ  เช่น  น้ำดอกไม้มัน  พิมเสนมัน  แรด  เขียวเสวย  หนองแซง  ฟ้าลั่น มันหวานปากช่อง เบาสงขลา เป็นต้น
2.มะม่วงสำหรับรับประทานผลสุก  เช่น  อกร่อง  อกร่องพิกุลทอง  น้ำดอกไม้  หนังกลางวัน  ทองดำ เป็นต้น
3.มะม่วงที่ปลูกเพื่อการอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้
- มะม่วงสำหรับดอง เช่น แก้ว โชคอนันต์ เป็นต้น
- มะม่วงสำหรับบรรจุกระป๋อง ทำน้ำคั้น แช่อิ่ม เช่น มะม่วงสามปี มหาชนก เป็นต้น
พันธุ์ต่างๆ ที่มีในฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม
พันธุ์เทพนิมิตร
  
เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสเปรี้ยวจัด ผลทรงรี อกและแก้มกลมโต ผลมีขนาดใหญ่ ความยาวมากกว่า 15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบบาง
พันธุ์น้ำดอกไม้มัน
  
เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสมันหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลทรงรีแกมหอก หลังและอกโค้งรับกันคล้ายรูปเขี้ยวสัตว์ ก้นผลแหลมงอเข้าหาอกเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่ ความยาวมากกว่า 15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบบาง
พันธุ์มันศาลายา
  
เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสมันหวานจืด ผลทรงรีแกมหอก หลังและอกโค้งรับกันคล้ายรูปเขี้ยวสัตว์ ผลมีขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบขนาดกลาง
พันธุ์เบาสงขลา
 
เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสเปรี้ยว ออกดอกก่อนพันธุ์ทั่วไป ผลทรงกลมแกมรี หลังและอกโค้งเกือบเป็นครึ่งทรงกลมรับก้นโค้งแหลมเล็กน้อย ผลมีขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 7 ซม. เนื้อผลน้อย (แต่มากกว่ามะม่วงกะล่อน) เมล็ดกลมรีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 4 - 5 ซม. มีการติดผลจำนวนมากต่อหนึ่งช่อดอก และติดผลดกมาก
พันธุ์ทองดำ
  
เป็นมะม่วงกินสุก มีรสหวานแหลม แต่เนื้อผลมีเส้นใยมากและมีกลิ่นขี้ใต้
การปลูก :
สามารถปลูกด้วย กิ่งตอน กิ่งทาบ การเพาะเมล็ด หรือการเปลี่ยนยอด
การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนสูงกว่าระดับดินเล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย
การปลูกด้วยกิ่งทาบ กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจากต้นตอ ถ้าเป็นกิ่งที่แตกจากต้นตอให้ตัดทิ้งไป
การปลูกโดยการเพาะเมล็ด  โดยการนำเมล็ดมาตัดส่วนปลายออกเล็กน้อย นำไปกดลงในหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 3 ส่วนของเมล็ด โดยให้ส่วนโค้งอยู่ด้านบน นำฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้งกลบให้ทั่วหลุมปลูก ลดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ วิธีนี้อาจได้พันธุ์มะม่วงใหม่ๆ
การปลูกโดยการเปลี่ยนยอด ทำเหมือนกับการเพาะเมล็ด เมื่อต้นโตมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับความสูง 30 ซม. ประมาณ 1 - 2 ซม. นำยอดพันธุ์ที่ต้องการไปเปลี่ยนโดยวิธีเสียบข้าง ในระยะนี้ควรทำที่บังแดดให้กับกิ่งพันธุ์ที่เปลี่ยนไว้ด้วย เมื่อกิ่งพันธุ์ที่ต้องการติดดีแล้วให้ตัดยอดของต้นตอทิ้ง วิธีนี้มักจะได้ต้นมะม่วงที่มีความสูงระดับเดียวกันทั้งสวน
วิธีการปลูก
ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากอากาศและดินมีความชุ่มชื้นดี และเป็นการสะดวกที่ไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก
หลุมปลูกควรขุดให้มีขนาดความกว้าง ยาว และลึก ไม่น้อยกว่า 30x30x30 ซม. หากดินในพื้นที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากด้วยแล้วต้องขุดหลุมปลูกให้มีขนาดใหญ่ และนำดินที่อุดมสมบูรณ์มาใส่เพื่อให้มะม่วงในระยะแรกเจริญเติบโตได้ดี
ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูกว่าต้องการเช่นไร ในที่นี้ขอแนะนำในระยะ 6x6 ม.
การปลูก ควรมีหลักไม้ปักกับดินแล้วผูกต้นเพื่อไม่ให้ลมโยกและทำที่บังแสงแดดให้ใน ระยะแรก รดน้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในปีแรกหากมะม่วงติดดอกให้ตัดออกเพื่อให้มะม่วงเจริญเติบโตทางทรงต้นให้สมบูรณ์ดีเสียก่อน
การติดดอกและผล :
โดยทั่วไปมะม่วงจะออกดอกติดผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม และเก็บเกี่ยวในเดือน มีนาคม ถึง เมษายน (ยกเว้นพวกมะม่วงทะวาย)
การดูแลรักษา :
ปฏิทินการปฏิบัติการจัดการ
มกราคมแทงช่อดอก ดอกบาน รักษาช่อดอกมะม่วง ป้องกันเพลี้ยจั๊กจั่นและราดำดูดน้ำเลี้ยงทำลายช่อดอกมะม่วง
กุมภาพันธุ์ผสมเกสร และตัดผลอ่อน ป้องกันกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่นดูดน้ำเลี้ยงผลมะม่วงที่ยังเล็กอยู่ ชะล้างช่อดอก และช่อผลมะม่วงด้วย
มีนาคมผลเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ย รดน้ำ หาฟาง เศษใบไม้ หญ้าผุ คลุมผิวดินบริเวณโคนต้นมะม่วง ป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้คอยทำลายผลมะม่วง
เมษายนเปลือกเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) ฤดูกาลเก็บผลมะม่วง
พฤษภาคมเปลือกเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล) ผลแก่ และเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งมะม่วงหลังจากเก็บผลหมดแล้วใส่ปุ๋ย บำรุงรักษาต้นมะม่วง
มิถุนายนตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช บำรุงรักษาต้นมะม่วง ฤดูกาลขยายพันธุ์มะม่วงโดยวิธีทาบกิ่ง
กรกฎาคมตัดแต่งกิ่ง ให้กิ่งแตกใบอ่อน ครั้งที่ 1 ฤดูกาลขยายพันธุ์มะม่วง
สิงหาคมกิ่งแตกใบอ่อนทั้งหมด กำจัดวัชพืช บำรุงรักษาต้นมะม่วง ปราบศัตรูพืชตามความจำเป็น
กันยายนกิ่งแตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 กำจัดวัชพืช บำรุงรักษาต้นมะม่วง ปราบศัตรูพืชตามความจำเป็น
ตุลาคมกิ่งเจริญเติบโตสมบูรณ์ กำจัดวัชพืช บำรุงรักษาต้นมะม่วง ปราบศัตรูพืชตามความจำเป็น
พฤศจิกายนกิ่งเจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ สุมกิ่งไม้ ใบไม้ หญ้าแห้งระหว่างต้นมะม่วง เพื่อรมควันมะม่วง เพี่อช่วยกระตุ้นในการเกิดช่อดอก และเป็นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชอีกทางหนึ่งด้วย
ธันวาคมระยะเวลาออกช่อดอกมะม่วง ป้องกันกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่น และราดำดูดน้ำเลี้ยงทำลายช่อดอกมะม่วง
การติดผล :
มะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก แต่จะติดเป็นผลเพียงไม่กี่ผลต่อช่อเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น ลักษณะของดอกมะม่วง ซึ่งดอกส่วนใหญ่จะเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเจริญเป็นผลได้ และปัญหาที่พบอยู่เสมอคือ การเกิดราดำที่ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่นเสียเป็นส่วนมาก หรือหมดทั้งต้น ทั้งนี้เพราะว่าที่ดอกมะม่วงจะมีต่อมน้ำหวาน ทำให้แมลงต่างๆ มาดูดกิน โดยเฉพาะพวกเพลี้ย จั๊กจั่น ซึ่งระบาดมากในช่วงมะม่วงออกดอก เพลี้ยจั๊กจั่นนอกจากจะดูดกินน้ำหวานและน้ำเลี้ยงที่ดอกทำให้ดอกร่วงหล่น แล้ว ยังถ่ายมูลออกมาเป็นอาหารของราดำอีกด้วย จึงทำให้ราดำชึ่งมีอยู่แเล้วตามใบและในอากาศเจริญอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่มะม่วงออกดอกนี้ อากาศมักจะหนาวเย็น และมีหมอกมากในตอนเช้า เมื่อหมอกจับตัวเป็นละอองน้ำตามช่อดอกและใบ ราดำก็จะเจริญได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดอกร่วงหล่นจนหมด จนกลายเป็นความเชื่อว่า ถ้าปีใดมีหมอกจัดในระยะที่ดอกมะม่วงบาน ปีนั้นมะม่วงจะติดผลน้อยเพราะน้ำค้างเค็มทำให้ดอกร่วง ซึ่งความจริงแล้ว น้ำค้างไม่ได้เค็ม แต่เป็นเพราะราดำและเพลี้ยจั๊กจั่นดังกล่าว
การเก็บเกี่ยว :
ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงนั้นแก่เต็มที่ มีสิ่งที่สังเกตุได้ 2 ประการคือ
1.แก้มผลทั้งสองข้างพองโตอูมเต็มที่ ผิวผลเปลี่ยนจากสีเขียวจัดเป็นสีจางลง หรือมีลักษณะคล้ายนวลแป้งเกาะติดผิว
2.โดยเก็บผลมะม่วงมา 2 - 3 ผล นำมาแช่น้ำ หากจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ (วิธีการนี้ใช้ได้ดีกับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้)
ตัวอย่างของการนับอายุของมะม่วงเพื่อการเก็บเกี่ยว (บางพันธุ์) ดังนี้
พันธุ์อายุการเก็บเกี่ยว (วัน)นับตั้งแต่
เขียวเสวย110เริ่มออกดอก
น้ำดอกไม้100ดอกบานเต็มที่
หนังกลางวัน110 - 115ดอกบานเต็มที่
ทองดำ102ดอกบานเต็มที่
ฟ้าลั่น70หลังช่อดอกติดผล 50%
แรด77หลังช่อดอกติดผล 50%
พิมเสน95ดอกบานเต็มที่
โรค :
โรคแอนแทรคโนส (anthracnose : Colletotrichum gleosporiodes Penz) ซึ่งทำอันตรายกับทุกส่วนของต้น อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดๆ สีน้ำตาลดำ และขยายตัวออกเป็นแผลแห้งๆ ขอบแผลมีสีเข้ม ที่ใบ กิ่ง ช่อดอก และผล ทำให้ใบเป็นรูพรุนทั่วไป ถ้าเป็นกับใบอ่อนหรือยอดอ่อน จะทำให้ใบบิดเบี้ยวและยอดแห้ง ถ้าเกิดที่ดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลนั้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ส่วนผลที่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นโรคนี้อาจร่วงไปเลย
การป้องกันและกำจัด
1.ตัด ทำลาย นำไปเผาไฟทิ้ง
2.พ่นสารกันเชื้อรา เช่น ไชเนบ (Zinep), แมนเซทดี (Manzate-D), หรือ เบนเลท 50 จำนวน 10 - 12 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 7 - 10 วัน โดยเฉพาะในระยะที่มีอากาศชุ่มชื้นมาก เช่น ในฤดูฝน
แมลง :
เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง (Mango hopper: Idiocerus spp.) จะเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่เริ่มออกดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกและช่อดอก ทำให้ดอกร่วงหล่น ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนก็จะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น มะม่วงไม่ค่อยติดผล เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงยังถ่ายมูลที่มีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมาติดอยู่ตามใบ เป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำระบาดจับอยู่ตามใบมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงสังเคราะห์อาหารได้น้อยลง
การป้องกันและกำจัด
1.ให้พ่นสารเคมี เช่น เซฟวิน ทุก 7 วัน  โดยเริ่มต้นเมื่อมะม่วงเริ่มแตกช่อดอก  แต่งดเว้นการพ่นสารเคมีเมื่อดอกมะม่วงกำลังบาน
2.โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วง ให้มีควันมากๆ อาจไล่ให้เพลี้ยจั๊กจั่นหนีไปได้
เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟทำลายพืชบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ช่อดอกมะม่วง ยิ่งในระยะที่มะม่วงออกดอก หากเพลี้ยไฟเข้าทำลายช่อดอกโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกร่วง ช่อดอกหงิกงอ ผลอ่อนทำให้เป็นแผลจุดสีดำ ถ้าระบาดรุนแรงผลมะม่วงจะเป็นสีดำเกือบทั้งหมด
การป้องกันและกำจัด
1.ถ้าพบไม่มากให้ตัดทำลาย เผาทิ้ง
2.ถ้าพบมากควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพ่น เช่น Cyhalothrim หรือ โมโนโครโตฟอส หรือคาร์บาริล ฉีดพ่นอย่างน้อย 2 ครั้งเมื่อเริ่มแทงช่อดอก และช่วงมะม่วงติดผลขนาด 0.5 - 1 ซม. หรือเท่ามะเขือพวง
แมลงวันทอง ตัวเมียจะวางไข่ใต้ผิวของผลมะม่วง เมื่อไข่เจริญเป็นตัวหนอน หนอนจะไชชอนกินเนื้อมะม่วงเป็นอาหาร ทำให้ผลมะม่วงเน่าเสียหายร่วงหล่นได้
การป้องกันและกำจัด
1.ห่อผลมะม่วงด้วยกระดาษหรือใบตองแห้ง
2.ทำลายดักแด้โดยการไถพรวนดินบริเวณโคนต้น หรือใช้สารเคมีฆ่าแมลงพ่นลงดินเพื่อฆ่าดักแด้ เช่น ดีลดริน คลอเดน
3.เก็บผลมะม่วงที่ถูกทำลายโดยแมลงวันผลไม้ที่หล่นโคนต้นทำลายเสีย