วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด


โรคแมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด

1. แมลง

1.1 เพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง (Mango hopper : Idiocerus spp) จะเข้าทำลายมะม่วงตั้งแต่เริ่มออกดอก โดยจะดูดกินน้ำเลี้ ยงจากดอกและช่อดอกทำให้ดอกร่วงหล่น ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ผลอ่อนก็จะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น มะม่วงไม่ค่อยติดผล เพลี้ยจั๊กจั่น มะม่วงยังถ่ายมูลซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมาติดอยู่ตามใบเป็นอาหารของราดำ ทำให้ราดำระบาดจับอยู่ตามใบและช่อมะม่วง ทำให้ใบมะม่วงสังเคราะห์อาหารได้น้อยลง นอกจากเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วงแล้ว ในระยะที่มะม่วงออกดอกนี้ อาจมีเพลี้ยไฟเข้าทำลายช่ อดอกด้วย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ดอก ทำให้ดอกร่วงเช่นกัน 
การกำจัดเพลี้ยจั๊กจั่นมะม่วง นอกจากวิธีที่กล่าวถึงแล้ว ยังอาจไล่ให้เพลี้ยจั๊กจั่นหนีไปได้ โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้ม ีควันมาก ๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่า ย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่ จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่นเมื่อคนเดินเข้าไปใกล้หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล

1.2 หนอนเจาะลำต้น เป็นหนอนของด้วงหนวดยาว โดยตัวแม่วางไข่ตามรอยแตกของเปลือกต้นมะม่วงแล้วตัวหนอนจะกัดกินเนื้อไม้เข้าเข้าไปในต้นหรือกิ่ง ถ้าระบาดมาก ๆ ต้นหรือกิ่งจะตายได้ 
การป้องกัน ทำความสะอาดสวนอยู่เสมอไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง การฉีดยาฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ด้วงไม่มีโอกาสวางไข่ โดยฉีดตามรอยแตกของเปลือกไม้ เมื่อตัวหนอนกัดกินเข้าไปข้างในแล้ว ให้หาเหล็กแหลมเขี่ยเอาตัวหนอนออกมา แต่ถ้าตัวหนอนเข้าไปลึกแล้วให้ใช้ยาฉีดยุงแบบสเปรย์ฉีดเข้าไปในรูแล้วอุดรูด้วยดินเหนียวหรือดินน้ำมันจะทำให้ตัวหนอนตาย

1.3 ด้วงมะม่วง เป็นด้วงปีกแข็ง มีงวงยาว ตัวแก่จะวางไข่ที่ผลอ่อนแล้วตัวหนอนจะเจริญอ ยู่ในเมล็ด พอเป็นตัวแก่ก็จะกัดกินเนื้อออกมา 
การป้องกัน เมื่อตัวหนอนเข้าไปอยู่ข้างในแล้ว กำจัดได้ยาก และผลมะม่วงมักจะเสียหายไปแล้ว การฉีดยาฆ่าแมลงประเภ ทดูดซึมจะช่วยได้บ้าง การดูแลหมั่นทำความสะอาดสวนอยู่เสมออย่าให้เป็นที่อยู่อาศัยของด้วงและแมลงต่าง ๆ จะช่วยป้องก ันการระบาดของด้วงมะม่วงได้

1.4 แมงมุมแดง เป็นแมงมุมที่มีตัวเล็กมาก ถ้าสังเกตไม่ดีจะไม่เห็น ตัวเป็นสีแดง เกาะอาศ ัยและขยายพันธุ์อยู่ใต้ใบ ดูดกินน้ำเลี้ยงของใบ ทำให้ใบเหลืองร่วงหล่น การกำจัดให้ใช้กำมะถันผง หรือกำมะถันชนิดละลายน้ำได้ ฉ ีดพ่นเมื่อพบว่ากำลังระบาดหรือใช้ฉีดด้วยยาฉุนกลั่นหรือเคนเท



1.5 แมลงวันผลไม้ เป็นแมลงวันปีกบางใส ทำลายมะม่วงโดยการวางไข่ที่ผลมะม่วงที่กำลัง จะสุก (เปลือกเริ่มเหลืองอ่อนตัวแล้ว) ตัวหนอนจะเจริญเติบโตอยู่ข้างใน สังเกตจากภายนอกจะเห็นเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ผลมะม่วงที่ถ ูกทำลายจะร่วงหล่นเสียหาย 
การป้องกัน เนื่องจากแมลงจะวางไข่เมื่อเปลือกของผลอ่อนตัว คือผลเริ่มจะสุกแล้ว ดังนั้น การเก็บผลมะม่วงเมื่อแก่ เต็มที่แต่ยังไม่สุกแล้วเอามาบ่มจะปลอดภัยจากการทำลายของแมลงชนิดนี้ การฉีดยาฆ่าแมลงในสวนจะช่วยกำจัดแมลงชนิด นี้ได้ด้วย 
นอกจากแมลงดังกล่าวที่พบว่าทำความเสียหายในสวนเสมอแล้ว ยังมีศัตรูอื่น ๆ อีก เช่น ปลวก นก และมดต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะทำความ ลำบากในการปฏิบัติงานสวนและการเก็บผลแล้ว มดยังเป็นตัวนำพวกเพลี้ยแป้งมาทำลายมะม่วงอีกด้วย การปราบมดอาจใช้ฉีดด้วยดีลดรินและควรตัดรังมดทิ้งไป

2. โรค

โรคต่าง ๆ ของมะม่วงไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงมากนัก ที่พบเสมอได้แก่โรคแอนแทรคโนส (anthracnose : Colletotrichum gleosporiodes, Penz) ซึ่งทำอันตรายกับทุกส่ว นของต้น อาการบนใบจะเห็นเป็นจุดดำ และขยายตัวออกเป็นแผลแห้ง ๆ ทำให้ใบเป็นรูพรุนทั่วไป ถ้าเกิดที่ดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าเกิดกับผลอ่อนจะทำให้ผลนั้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ส่วนผลที่มีขนาดเล็ก ถ้าเป็นโรคนี้อาจร่วงไปเลย การป้องกันกำจ ัดทำได้โดยพ่นด้วยยากันราต่าง ๆ เช่น ไซเนบ (Zinep) แมนเซท-ดี (Manzate-D) ทุก ๆ 7-10 วัน 
นอกจากโรคแอนแทรคโนสแล้ว อาจมีโรค ราแป้ง หรือโรคราขี้เถ้า ทำลายใบและดอกให้ร่วงหล่น แต่ไม่ค่อยพบว่าระบาดรุนแรงนัก นอกจากสวน ั้ปล่อยปละเลยไม่ได้ดูแลทำความสะอาดสวนเลย การทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ และบำรุงต้นมะม่วงให้เจริญเติบโตแข็งแรง จะเป็นกา รป้องกันไม่ให้โรคและแมลงศัตรูต่าง ๆ ระบาดได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น