วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร

         เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่
ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนิน
ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก


2.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร

         เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้
ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้าง
ความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถ
พึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและ
ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

3.ใครที่สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได

        เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญาที่ทุกๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ
และประชาชนทั่วไป ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน สถาบันต่างๆ ทั้งนอกภาค
การเกษตรและในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง

4.หลักการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงต้องคำนึง
ถึงอะไรบ้าง

        การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
ทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้
          1.ความพอประมาณ
          2.ความมีเหตุผล
          3.การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

       โดยการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม
ตลอดจนต้องเป็นคนดี มีความอดทน พากเพียร
        ความพอประมาณ
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การดำเนินธุรกิจอย่าง
พอเพียงตามความสามารถ และศักยภาพของตนที่มีอยู่ และต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม
ตลอดจนพึงนึกถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ
        การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
เป็นการเตรียมความพร้อม ความรู้ ที่จะรับผลกระทบ และ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่ายดังนี้
      1.ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการดำรงชีวิต
      2.ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
      3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง
      4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูน
        จนถึงขั้นพอเพียง
      5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป

5.การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะเกิดผลอย่างไร

การดำเนินการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจักนำไปสู่
      1.การดำรงชีวิตที่สมดุลมีความสุขตามอัตภาพ
      2.การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและประเทศชาติมั่นคง
      3.การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดวามเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

       นอกจากนี้ ปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธการเป็นหนี้สิน การกู้ยืมเงิน
แต่เน้นการบริหารความเสี่ยง คือ แม้ว่าจะกู้ยืมเงินมาลงทุน ก็เพื่อดำเนินกิจการที่ไม่ก่อให้เกิด
ความเสี่ยงมากจนเกินไปแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามไม่ให้ลงทุนหรือขยายธุรกิจ
แต่เน้นให้ทำธุรกิจที่ไม่ให้เสี่ยงมากเกินไปควรลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น